" โครงการสร้างอาชีพ

เยาวชนนอกระบบการศึกษา

ด้วยเกษตรยั่งยืน "

การทำงานร่วมระหว่าง กสศ. และ สมาคมเกษตรปลอดภัย

โครงการสร้างอาชีพเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ด้วยเกษตรยั่งยืน (สศกย.) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565

ท่านยุทธพล สิทธิพรหม ปลัดอำเภอหัวหน้กลุ่มบริหารงานปกครอง อำเภอหนองหญ้าไซ ในฐานะผู้แทนท่านนายอำเภอหนองหญ้าไซ ได้มาเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมเวทีเสวนาสร้างการมีส่วนร่วมในการคัดสรรเยาวชนและร่วมกำหนดกรอบการเรียนรู้ขององค์กรภาคีเครือข่ายเและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในทุกระดับภาคทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เป็นกิจกรรมแรกในการดำเนินโครงการสร้างอาชีพเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วยเกษตรยั่งยืน ( สศกย. ) ที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในการนี้มีคุณเอกชัย ยุทธชัยวรกุล ตัวแทนจาก กสศ.ภาคกลาง และ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาที่มาจากทุกภาคส่วนใน 4 อำเภอ โดยมีภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 35 องค์กร จำนวน 92 ท่าน ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ อำเภอหนองหญ้าไซ 8 หน่วยงาน  26  คน ได้แก่ อบต.หนองหญ้าไซ อบต.เเจงงาม อบต.หนองราชวัตร อบต.หนองขาม สสอ.หนองหญ้าไซ สภ. หนองหญ้าไซ กศน.หนองหญ้าไซ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ 5 หน่วยงาน  13   คนได้แก่ อบต.ดอนเจดีย์ อบต.สระกระโจม อบต.ไร่รถ อบต.หนองสาหร่าย สำนักงานเกษตรดอนเจดีย์ อำเภอด่านช้าง 7 หน่วยงาน  15  คนได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอด่านช้าง กศน.อำเภอด่านช้าง อบต.นิคมกระเสียว อบต.ด่านช้าง อบต.ห้วยขมิ้น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอด่านช้าง อำเภอสามชุก 5 หน่วยงาน   6 คน  ได้เเก่ อบต.วังลึก อบต.หนองสะเดาหนองสะเดา อบต.ย่านยาว สำนักงานเกษตรอำเภอสามชุก กศน.อำเภอสามชุก นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือจากหน่วยงานระดับจังหวัด  8 หน่วยงาน  15  คน ได้แก่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานสาธารณสุขศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงาน กศน.จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี  ภาคเอกชน 2 บริษัท  12  คน ได้เเก่ บริษัท มรรค พลัส จำกัด ตง เต็นท์ ทั่วไทย และคณะทำงานโครงการสศกย. 5 คน

        บทสรุปจากการทำกิจกรรมในวันนี้ทำให้เห็นความพร้อมของหน่วยงานต่างๆที่มีความตั้งใจที่จะช่วยกันดูแล ให้โอกาสและหนุนเสริมให้เยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ของตนได้รับความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะอาชีพ ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีสำนึกที่ดี เป็นคนที่มีความสุข มีอาชีพดูแลตนเองและครอบครัวได้ และจะเป็นกำลังที่สำคัญให้กับชุมชน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัดที่ตนอยู่อาศัย รวมถึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติต่อไป ขอขอบคุณทุกพลัง ทุกความรักและความร่วมมือของทุกคนในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการที่จะพัฒนาเยาวชนด้วยกัน สำหรับท่านใดที่สนใจส่งเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา สามารถสอบถามข้อมูลคุณสมบัติของเยาวชนที่สามารถเข้าร่วมได้ทางอบต. ที่กล่าวถึงทั้งหมดข้างต้น หรือติดต่อทางเพจ  โครงการสร้างอาชีพเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วยเกษตรยั่งยืน สศกย.  นี้ได้โดยตรง

อยากให้ลูกหลานท่านมีโอกาส มีอาชีพ ดูแลตนเองได้ เราขออาสาดูแลลูกหลานของท่านให้ตลอด 7 เดือนโครงการนี้ดูแลเยาวชนทุกคนในโครงการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ค้นหากลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ